Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

คิดใหญ่ไปให้สุดราง ปลายทางอยู่ตรงไหน?

หลักเกณฑ์ในการตัดสินคืออะไร? และคาดหวังที่จะเห็นอะไรจากผลงานที่ส่งเข้าประกวด?

-รศ. ดร.สิงห์ อินทรชูโต-
กรรมการตัดสินโครงการประกวดความคิดสร้างสรรค์ หัวข้อ “รถไฟในฝัน”

 

หลักเกณฑ์ก็มีอยู่ 3 ข้อหลัก ๆ ครับ ข้อที่ 1 เป็นเรื่องของ Creativity ความคิดสร้างสรรค์ เราจะมองว่า ได้ทําอะไรที่เรายังไม่เคยเห็นมาก่อนหรือเปล่า หรือว่าเป็นแนวทางใหม่ที่เราไม่เคยคิด และทําให้เราฉุกคิดนะครับ ข้อที่ 2 คือ Practicality คือทําอะไรที่องค์กรสามารถนําไปใช้ได้ นําไป apply นําไปปรับเปลี่ยนเพื่อจะประยุกต์เข้ากับระบบที่เรามีอยู่ หรือในอนาคตอันใกล้

ข้อสุดท้าย คือ คือความสามารถในการสื่อสารของกลุ่มน้อง ๆ ว่า  เล่าไอเดียนี้เราเข้าใจไหม เล่ารู้เรื่องไหม การเล่าไม่ใช่การพูดอย่างเดียวครับ ต้องมีพรีเซนเทชั่นด้วย แต่เราจะเน้นเรื่อง Creativity เป็นหลัก ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทําไมเราถึงได้เอาน้องๆ ที่ประสบการณ์ยังไม่เยอะ อายุระหว่าง 16-22 ปี มาขอไอเดียคนรุ่นใหม่ ที่เขามีความฝันมี Wish เยอะๆ  เราจะได้เอามาประกอบการคิดในการวางแผนอนาคตครับ

 

ผมอยากที่จะให้การประกวดครั้งนี้ มีการนําเสนอแนวคิดที่หลากหลาย เช่น คนที่เป็น Food designer ก็อาจเสนอเป็นโต๊ะเซ็ตที่จะมาใช้ในรถไฟ บางคนเป็นวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับเซ็นเซอร์ ก็คิดเซ็นเซอร์บางอย่างที่จะไปกับหัวรถจักร หรือตัวรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นเซอร์ทางด้านกลิ่น ทางด้านมลภาวะ ทางด้านคุณภาพอากาศต่างๆ หรือว่าความชื้นอุณหภูมิต่างๆ ทําให้เราเข้าใจทั้งประเทศได้

ถ้าเป็นบุคคลเกี่ยวข้องกับ Engineering ก็อาจจะมาพูดถึงเรื่องการออกแบบล้อ การออกแบบเครื่องจักร หรือแม้แต่คนที่เป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ ก็อยากจะเปิดรับให้น้องๆ ที่เป็นสายแฟชั่น ให้มองความทันสมัยของรถไฟในอนาคต ไปถึงขั้นแฟชั่นด้วยได้ไหม เพราะธุรกิจเหล่านี้ มันจะเป็นสปริงบอร์ดให้กับหลายๆ เซกเตอร์ในประเทศไทยเพื่อเติบโตต่อไปได้

เราไม่อยากที่จํากัดอยู่แค่ไม่กี่กลุ่มเท่านั้น สถาปนิกจับมือกับ ดีไซเนอร์ ออกแบบชานชาลาแบบใหม่ หรือว่าเราเรียก TOD-Transit Oriented Development ออกแบบพื้นที่หรือเมืองที่อยู่รอบๆ ชานชาลา เพราะชานชาลาจะเอาคนมาทั้งขบวนเป็นหลายร้อยคน นั่นหมายความว่ามันเกิดเศรษฐกิจขนาดย่อมขึ้น เราสามารถจะ Capitalize โอกาสตรงนั้นได้ไหม ในการสร้างที่อยู่อาศัย  Shopping Mall  โรงเรียน หรือเป็นเมืองเล็กๆ ขึ้นมาในทุกๆ ชานชาลาที่รถไฟพาไป

อันนี้คือสิ่งที่เราคิดว่ามีหลาย ๆ ระดับมากนะที่ทุกคนมีโอกาสได้ใช้ความสามารถหรือความรู้หรือความตั้งใจมาประกอบร่างขึ้นมาให้เราได้เห็น เป็นต้นแบบที่เราเอาไปศึกษาต่อพัฒนาต่อได้

ทาง สทร. คาดหวังอะไรจากการประกวดครั้งนี้บ้าง?

-ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล-
ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)

 

 

เราอยากให้จะมีน้อง ๆ เข้ามาสนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการมากที่สุดเท่าที่จะมากได้  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เรื่องบุคลากรที่มีศักยภาพมันมีความต้องการต่อเนื่อง  ไม่สามารถทำจบได้ภายในเวลาไม่กี่ปี แล้วก็ไม่ได้จบในคนชุดเดียว เราต้องสร้างความตระหนักรู้ให้เยาวชนตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านบุคลากรต่อไปในการทําภารกิจ ถ้ายิ่งฝันจะไปถึงการที่จะเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรถไฟไปในตลาดโลก เรายิ่งต้องการความต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ได้เกี่ยวข้องกับเขาตั้งแต่วันนี้ ผมว่าพอถึงวันที่เราต้องการแล้ว เราก็จะหนีไม่พ้นการต้องไปหาบุคลากรจากที่อื่นอีก เราก็จะเสียโอกาสไปอีก นั่นคือคาดหวังมากที่สุดที่จะให้น้อง ๆ เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมครับ

คิดใหญ่ไปให้สุดราง.com | สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) | กระทรวงคมนาคม

Go to Top