Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ต้องคิดใหญ่ แค่ไหน กับ รถไฟในฝัน?

อยากเห็นอะไรจากผลงานที่ส่งเข้าประกวดครั้งนี้?

-รศ. ดร.สิงห์ อินทรชูโต-
กรรมการตัดสินโครงการประกวดความคิดสร้างสรรค์หัวข้อ ‘รถไฟในฝัน’

ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการ  เราอยากเห็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง สิ่งที่เราคิดว่า เราไม่เคยเห็น บางทีอาจจะเป็นสิ่งเล็กๆ ก็ได้  ไม่จําเป็นจะต้องเป็นสิ่งใหญ่โตอะไร เช่น น้อง ๆ หลายคนคุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยขึ้นรถไฟ แล้วบอกว่านอนไม่หลับเลย เพราะเสียงมันดังมาก อาจจะดีไซน์หมอนทําให้หลับสบาย ทําให้ห้องมันเงียบ ก็เสนอมาได้

น้องๆ หลายคนบอกว่าเขาเป็นนัก Data Analytic อยากที่จะเข้าใจสภาพภูมิอากาศคุณภาพอากาศของทั้งประเทศไทยเป็นยังไง ก็อาจเสนอการติดเซ็นเซอร์วัด PM 2.5 ตรวจวัดมีเทน ตรวจวัดสารที่ทําให้ร่างกายสุขภาพเราเสียติดมา ทําให้รถไฟทุกขบวนที่ไปทั่วประเทศ รวบรวม data กลับมาให้น้องวิเคราะห์ทราบว่า ตอนนี้โซนไหนมันเกิดโรคมะเร็งปอดเยอะ โซนไหนมันเกิดโรคอะไรเยอะ มันขึ้นอยู่กับ PM 2.5 หรือเปล่า หรือบางคนก็เป็นสถาปนิก อาจจะออกแบบชานชาลาใหม่ เราก็รู้ว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะเสนอวิธีการออกแบบชานชาลา การขับเคลื่อนของคนที่ใช้รถไฟผ่านวีลแชร์ต่างๆ อันนี้คือสิ่งที่เราสามารถจะเสนอได้หมดเลยนะครับ

ผมคิดว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเริ่มตระหนักว่ามันคือเทรนด์อนาคต แต่เรายังไม่มีโซลูชั่น ยังหาวิธีการฉลาดๆ หรือ ครีเอทีฟมาก ๆ ไม่ได้  เราต้องการอาศัยความคิดของคนรุ่นใหม่  ของคนที่ไม่มีกรอบมานําเสนอ แล้วก็มาจับมือกับเพื่อนๆ จับมือกับพี่ๆ จับมือกับคนต่างสถาบัน ก็ได้นะครับ มาช่วยกันคิดเราเปิดให้มีความหลากหลายของแต่ละทีม ตามแต่หัวหน้าทีม แล้วก็สมาชิกของแต่ละทีมจะจัดมา

เราคาดหวังว่าจะเป็นโอกาสที่คนรุ่นใหม่จะมาขับเคลื่อน infrastructure ของประเทศ  ไอเดียความคิดที่จะส่งมา  สามารถจะเป็นแนวคิดเชิงพื้นที่ หรือในสิ่งที่น้องๆ คุ้นอยู่ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางภาคใต้ มีอะไรพิเศษหรือเปล่า ฝนตกหนัก อาจจะมีความไม่สงบอยู่  รถไฟควรจะเป็นยังไง  ไปทางทิศเหนือ อากาศไม่ค่อยดี มีน้ำท่วมเยอะ มีน้ำป่าไหลหลาก รถไฟควรจะเป็นยังไง หรือภาคกลาง จริงๆแล้ว โรงงานเยอะมากเลย และมีพื้นที่น้ำท่วมบ่อยมาก  รถไฟจะช่วยชุมชนเหล่านั้นผ่านวิกฤติต่างๆได้ไหม

 

สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถจะเป็นการออกแบบเชิงพื้นที่ได้ หรือแม้แต่ในหมู่บ้านน้อง ๆ เอง ถ้าน้อง ๆ อยากกลับบ้านบ่อย ๆ แต่จังหวัดหนูไปยากมากเลย สถานีก็น้อย เราเสนออะไรบางอย่างได้นะครับ ในเชิงของแนวคิด ให้เราเข้าไปในการพัฒนาหรือสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น ก็คือเน้นเรื่อง connectivity (การเชื่อมต่อ) แล้วก็ accessibility (การเข้าถึง) เป็นต้นครับ

คิดใหญ่ไปให้สุดราง.com | สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) | กระทรวงคมนาคม

Go to Top