‘รถไฟในฝัน’ ตัดสินกันอย่างไร?
รศ. ดร.สิงห์ อินทรชูโต
กรรมการตัดสินโครงการประกวดความคิดสร้างสรรค์หัวข้อ ‘รถไฟในฝัน’
เกณฑ์ง่ายมากเลยครับ การตัดสินคราวนี้ เรามองเกณฑ์อยู่ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ Creativity คือความคิดสร้างสรรค์มาก่อนเลย อยากจะให้น้อง ๆ มาช่วยเปิดโลกทัศน์หามุมมองใหม่ๆ มาผสมกัน อันที่ 1 คือ Creativityซึ่งให้น้ำหนักมากสุด อันที่ 2 คือ Practicality เอามาใช้จริงๆ ได้ซักแค่ไหน และอันที่ 2 คือ Communication การสื่อสารได้เข้าใจไอเดีย ซึ่งสัดส่วนจะน้อยลงมาตามลำดับ
ในรอบที่หนึ่ง สัดส่วนเรื่อง Creativity จะสูงมาก เพราะอยากได้ไอเดียมาก่อนคือ 70% ส่วน Practicality คือ 20% ส่วนสุดท้าย Communication คือ 10% และเมื่อคัดกรองมาถึงรอบที่ 2 สัดส่วน Creativity ก็ยังสูงสุดอยู่ที่ 50% เพราะยังให้น้ำหนัก Creativity อยู่ แต่ก็เริ่มมีส่วน Practiality เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่เป็นแค่ไอเดียอย่างเดียว ส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นจาก 20% เป็น 30% แล้วส่วน Communication ก็เพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 20% เพื่อสื่อสารให้สังคมทั่วไปรู้เรื่องและเข้าใจไอเดีย
นี่ก็เป็นส่วนที่เราพยายามที่จะคิดและประกอบร่างขึ้นมา สามารถที่จะถกเถียงกันได้ คุยกันได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ที่ว่า มามุมไหน เพราะการดีไซน์ก็มีหลายมุม เช่น
Product Design ก็คือ การออกแบบเกี่ยวกับรถไฟ เกี่ยวกับราง แล้วมันก็มี Architecture Design คือออกแบบชานชาลา ออกแบบโครงสร้างต่างๆ เพื่อมารองรับระบบราง
มี Fashion Design ออกแบบแฟชั่น ชุดของคนที่ใส่ต่างๆ และยังมี Service Design อีก อาจจะดีไซน์ยังไงให้คนที่มาจากลิธัวเนียอยากจะมาใช้ระบบรางของไทย เขาถือกระเป๋ามาถึงสุวรรณภูมิแล้วยังไงต่อ จะมี service อะไร ถึงชานชาลาควรมีอะไร นี่คือ Service Design ทำให้คนที่ใช้บริการ
เพราะฉะนั้นคําว่า ดีไซน์ ไม่ได้หมายความว่าต้องจับต้องอย่างเดียวเป็น Service Design ก็ได้ ซึ่งน่าสนใจมาก แอร์พอร์ตทุกแอร์พอร์ตในโลกต้องใช้ Service Design ไม่งั้นคนหลงกัน หยิบกระเป๋าไม่ถูกเลย ถ้าไม่มี Service Design นอกจากนี้ ยังมี Process Design (การออกแบบกระบวนการ) มี System Design (การออกแบบระบบ) ฉะนั้นเวลาเปิดการแข่งขันแบบนี้ ผมคิดว่า เรากําลังจะบอกว่าดีไซน์มีหลายมิติ แล้วเรายอมรับน้องๆ จากหลายคณะมากๆ ไม่ใช่เฉพาะดีไซเนอร์อย่างเดียว
ผมว่ากรรมการก็อยากจะเห็นไอเดียใหม่ ๆ แต่ถ้าเราใส่กรอบตั้งแต่แรก เราก็ไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ หน้าที่ของรถไฟจริงๆ แล้ว มันคือการดึงการลากใช่ไหม เราอยากเห็นการเอาไอเดียออกจากรถไฟมาดึงมาลากเศรษฐกิจไทยให้โต ซึ่งมันเกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ในอเมริกากว่าจะขยายไป Wild West ก็รางรถไฟไปก่อน ทุกประเทศถ้าจะเจริญพัฒนาก็ต้องรถไฟ แล้วตอนนี้เมืองจีนมี One Belt One Road ก็รถไฟอีก ฉะนั้นรถไฟคือ อนาคตที่จะดึงให้เศรษฐกิจโต มันไม่มีทางอื่นจริงๆ ครับ เพราะว่าการโตของรถไฟ มันดีทั้ง Sustainable (ยั่งยืน) ด้วย ทั้ง ประหยัดพลังงาน ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ราคาถูก และมีข้อดีอื่นๆ อีกมาก เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็น อยากน้อง ๆ ให้เสนอมา เรารู้ว่าเราจะมองอะไร มันจะส่งเสริมให้เราโตขึ้นเชิงเศรษฐกิจ และความสามารถในการแข่งขันของเราจะดีขึ้นไหม อย่างนี้ครับ
ถ้าเขาอยากจะเสนออะไรที่มันล้ำมากๆ ก็รอเวลาให้มีเทคโนโลยี เพื่อจะนำไปใช้ก็ได้ เช่นสมมติ ถ้ามีเซ็นเซอร์ เรื่อง Air Quality ตรวจวัด PM 2.5 ติดที่รถไฟทั้งหมดทั้งเครือข่าย ไปแทบทุกทุกที่เลย มันก็จะบันทึกสภาพอากาศไว้ทั้งประเทศให้เรา โดยไม่ต้องอาศัยดาวเทียมด้วยซ้ำ แล้วถ้ามีไอเดียแบบนี้ มันก็จะมีข้อมูลที่เก็บได้จากการที่รถไฟวิ่งไปทุกที่ แล้วยิ่งเรามีระบบรางที่เครือข่ายที่เจ๋งมากๆ และมีเซ็นเซอร์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ ระดับน้ำ air quality อุณหภูมิความชื้นต่าง ๆ หรืออะไรก็แล้วแต่ มันก็อาจจะกลายเป็น Indicator หรือ Data มูลค่ามากในการขับเคลื่อนประเทศก็ได้ครับ