Skip to content Skip to footer

เงื่อนไขและกติกา

ประเภทการประกวด

1. ระดับมัธยมศึกษา อายุ 16-18 ปี
2. ระดับอุดมศึกษา อายุ 18-22 ปี

คุณสมบัติผู้สมัคร

1. ศึกษาอยู่ในจังหวัดที่มีรถไฟวิ่งผ่าน
2. สมัครเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 5 คน
3. มีใบรับรองจากสถานศึกษา
4. สมัครทางเว็บไซต์โครงการเท่านั้น
5. ผู้สมัครต้องตอบแบบสอบถามในเว็บไซต์ให้ครบถ้วน

กติกาการประกวด

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องนำเสนอแนวคิดหรือจินตนาการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาศักยภาพขบวนรถไฟ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการและสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศในด้านใดด้านหนึ่ง

2. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลจากที่อื่นมาก่อน

3. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผู้เข้าร่วมประกวดสร้างสรรค์ขึ้นเอง และไม่มีการลอกเลียนแบบจากผลงานของผู้อื่น

4. หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือการลอกเลียนแบบผลงานนั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดทันทีโดยผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

5. ผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดให้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ สทร. และ ทาง สทร. สามารถปรับเปลี่ยนผลงานเพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับการใช้งานของ สทร. ต่อไป

วิธีการส่งผลงาน

1. เอกสารนําเสนอแนวคิด (Concept Presentation)
– อธิบายแนวคิดที่นําเสนอ
– ระบุประโยชน์และผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและสังคม
– มีภาพประกอบเพื่ออธิบายแนวคิด โดยสามารถใช้ภาพเคลื่อนไหวกราฟิก ภาพวาดมือ หรือภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์

2. เอกสารประกอบ
– ประวัติทีมผู้เข้าแข่งขัน (ทีมละไม่เกิน 1 หน้า) พร้อมชื่อทีม
– เอกสารรับรองจากทางสถานศึกษา

เกณฑ์การตัดสิน

1. ความคิดสร้างสรรค์ (รอบแรก 70% รอบตัดสิน 50%)
ความสามารถในการสร้างไอเดียที่น่าสนใจและสดใหม่

2. ความเกี่ยวข้องกับระบบรางและการนำไปใช้ได้จริง (รอบแรก 20% รอบตัดสิน 30%)
ความสามารถในการตีความเพื่อพัฒนาศักยภาพของรถไฟที่ตอบโจทย์การพัฒนาระบบรางของประเทศ

3. การสื่อสารที่ชัดเจน (รอบแรก 10% รอบตัดสิน 20%)
ความสามารถในการนำเสนอผลงานให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย

คณะกรรมการตัดสิน

ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล
ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)

นางเกศวรงค์ หงส์ลดารมภ์
กรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)

นายสุชีพ สุขสว่าง
รองผู้อำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ
กรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)

นายพัฒนพงษ์  พงศ์ศุภสมิทธิ์
รองผู้อำนวยการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ
กรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)

รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต
หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.พิณทิพย์ วัชโรทัย
เลขากรรมการตัดสิน

ดร.พัชริญา เพชรผ่อง
เลขากรรมการตัดสิน

นายณัฏฐ์ อนุกูล
ผู้ช่วยเลขากรรมการตัดสิน

กำหนดการ

รับสมัครและส่งผลงาน
24 ตุลาคม – 24 พฤศจิกายน 2567

ปิดรับผลงาน
4 ธันวาคม 2567

ประกาศผลคัดเลือกรอบแรก
13 ธันวาคม 2567

กิจกรรมทัศนศึกษา
23-24 ธันวาคม 2567
เยี่ยมชมเทคโนโลยีระบบรางที่กรุงเทพมหานครสำหรับผู้ผ่านเข้ารอบแรก 10 ทีม (รุ่นละ 5 ทีม)

ประกาศผลตัดสินและมอบรางวัล
13 มกราคม 2568

รางวัล

รางวัลชนะเลิศ
ทุนการศึกษา 100,000 บาท 2 รางวัล พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ
ทุนการศึกษา 50,000 บาท 2 รางวัล พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

รางวัลพิเศษ
ทุนการศึกษา 20,000 บาท 6 รางวัล พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

สิทธิประโยชน์สำหรับ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกคนจะได้รับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการจาก สทร. โดยจะจัดส่งให้ทางอีเมล ภายใน 3 วันทำการ หลังจากส่งผลงานแล้ว

2. ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก 10 ทีม จะได้เข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา “ส่องราง” เพื่อเยี่ยมชมเทคโนโลยีระบบรางที่กรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนค่าเดินทางรวมที่พัก และได้ทุนสนับสนุนการเตรียมตัวเพื่อนำเสนอผลงานในรอบตัดสินอีก 10,000 บาท

คิดใหญ่ไปให้สุดราง.com | สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) | กระทรวงคมนาคม

Go to Top